ข้อที่: 1
โจทย์: การกระจายหน่วยแรงเมื่อมีน้ำหนักกด จากผิวจราจรด้านบน ลงสู่ชั้นดินคันทางด้านล่างสำหรับถนนลาดยาง (Flexible Pavement)มีสมมุติฐานอย่างไร
คำตอบ 1: กระจายสม่ำเสมอเป็นรูปสี่เหลี่ยม
คำตอบ 2: กระจายเป็นรูปกรวยเอียง 80 องศา
คำตอบ 3: กระจายเป็นรูปกรวยเอียง 45 องศา
คำตอบ 4: กระจายเป็นรูปกรวยเอียง 60 องศา
คำตอบ 5: มีรูปแบบไม่แน่นอน
แนวคิด
อ้างอิงจาก จิรพัฒน์ โชติกไกร 2546 การออกแบบทาง
________________________________________
ข้อที่: 2
โจทย์: การกระจายหน่วยแรงเมื่อมีน้ำหนักกด จากผิวจราจรด้านบน ลงสู่ชั้นดินคันทางด้านล่างสำหรับถนนคอนกรีต (Rigid Pavement)มีสมมุติฐานอย่างไร
คำตอบ 1: กระจายสม่ำเสมอตลอดแผ่นพื้นคอนกรีต
คำตอบ 2: กระจายเป็นรูปกรวยเอียง 80 องศา
คำตอบ 3: กระจายเป็นรูปกรวยเอียง 45 องศา
คำตอบ 4: กระจายเป็นรูปกรวยเอียง 60 องศา
คำตอบ 5: มีรูปแบบไม่แน่นอน
แนวคิด
เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแกร่งมากกว่าดินที่รองรับมาก ทำให้การแผ่กระจายของน้ำหนักผ่านแผ่นคอนกรีตจะลงในลักษณะของพื้นที่กว้างกว่าขนาดสัมผัสของพื้นผิวจากล้อรถมากแรงต่อหน่วยพื้นที่ๆกระทำในชั้นดินที่รองรับจึงต่ำกว่าในถนนลาดยาง
________________________________________
ข้อที่: 3
โจทย์: ชั้นโครงสร้างของถนนชั้นใด ใช้วัสดุที่มีความแข็งแกร่ง ทนทาน รับน้ำหนักสูงได้ดี มีค่า CBR > 80%
คำตอบ 1: พื้นทาง
คำตอบ 2: วัสดุคัดเลือก
คำตอบ 3: รองพื้นทาง
คำตอบ 4: ดินเดิม
คำตอบ 5:
แนวคิด
ชั้นพื้นทาง(Base Course) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากผิวทาง ถ่ายลงสู่รองพื้นทาง และดินคันทางวัสดุที่ใช้จึงต้องแข็งแกร่งเช่นกัน เช่น หินคุก กรวด หรือ Granular Stabilized Soil มีค่า CBR>80% การก่อสร้างต้องบดอัดเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นไม่เกิน
15 ซม. เมื่อบดอัดแล้วต้องมีความแน่นและความมั่นคงสูง
________________________________________
ข้อที่: 4
โจทย์: เหล็กชนิดใด ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักจากแผ่นคอนกรีตต่างผืนกัน เพื่อรับแรงเฉือน และแรงกระแทกจากล้อของยานพาหนะ
คำตอบ 1: ตะแกรงเหล็กเสริม
คำตอบ 2: เหล็กเดือย
คำตอบ 3: ปลอกเหล็กเดือย
คำตอบ 4: เหล็กยึด
แนวคิด
เหล็กเดือย (Dowel Bar)ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักของล้อรถระหว่างรอยต่อของแผ่นคอนกรีตความยาวและขนาดของ Dowel Bar ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นคอนกรีต
________________________________________
ข้อที่: 5
โจทย์: dowel bar หรือเหล็กเดือย ไม่ใช้กับ รอยต่อชนิดใดในแผ่นคอนกรีต
คำตอบ 1: รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint)
คำตอบ 2: รอยต่อเพื่อการก่อสร้าง (Construction Joint)
คำตอบ 3: รอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion Joint)
คำตอบ 4: รอยต่อตามยาว (Longitudinal Warping Joint)
แนวคิด
เหล็กเดือย (Dowel Bar)เหล็กเสริมตรงรอยต่อประเภท Contraction, Construction Joint และ Expansion Joint
________________________________________
ข้อที่: 6
โจทย์: ครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กที่ใช้กับรอยต่อในแผ่นคอนกรีต ชนิดใดต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีต
คำตอบ 1: เหล็กเดือย (dowel bar)
คำตอบ 2: เหล็กยึด (Tie bar)
คำตอบ 3: ครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กเดือย และเหล็กยึด ต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อ คอนกรีต
คำตอบ 4: ครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กเดือย และเหล็กยึด ไม่ต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อ คอนกรีต
แนวคิด
ปลายครึ่งหนึ่งของ Dowel Bar จะต้องชุบยางมะตอย หรือสีเพื่อป้องกันมิให้คอนกรีตยึดติดแน่น และแผ่นคอนกรีตสามารถยืดหดตัวได้โดยอิสระ ไม่แตกร้าว
________________________________________
ข้อที่: 7
โจทย์: เหล็กที่ใช้กับรอยต่อในแผ่นคอนกรีต มีการเลือกใช้อย่างไร
คำตอบ 1: ใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กเดือย (Dowel Bar) และใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยึด (Tie Bar)
คำตอบ 2: ใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กยึด และใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กเดือย
คำตอบ 3: ใช้เหล็กข้ออ้อยทั้งเหล็กเดือย และเหล็กยึด
คำตอบ 4: ใช้เหล็กเส้นกลมทั้งเหล็กเดือย และเหล็กยึด
แนวคิด
เนื่องจากเหล็กเดือยทำหน้าที่เสริมตรงรอยต่อประเภท Contraction, Construction Joint และ Expansion Joint จึงต้องการความสามารถยืดหดตัวได้โดยอิสระ ไม่ให้คอนกรีตแตกร้าวจึงใช้เหล็กเส้นกลม แต่เหล็กยึด(Tie Bar)ใช้กับรอยต่อประเภท Longitudnal Joint ใช้เหล็กข้ออ้อยเนื่องจากต้องการแรงยึดเกาะสูงป้องกันมิให้คอนกรีตแยกออกจากกัน
________________________________________
ข้อที่: 8
โจทย์: ในการสร้างรอยต่อเพื่อการหดตัวในแผ่นคอนกรีต มีการตัดคอนกรีตเมื่อเริ่ม Set ตัวหรือฝังพุกในขณะคอนกรีตยังไม่แข็งตัว ให้ลึกลงไปเท่าไรในแผ่นคอนกรีต
คำตอบ 1: 1/3 ของแผ่นคอนกรีต
คำตอบ 2: 1/4 ของแผ่นคอนกรีต
คำตอบ 3: 1/5 ของแผ่นคอนกรีต
คำตอบ 4: 1/6 ของแผ่นคอนกรีต
แนวคิด
รอยต่อเพื่อการยืดหดทำหน้าที่บังคับรอยแตกในแผ่นคอนกรีตให้เกิดตรงจุดที่ต้องการ และถ้ามีการแตกร้าวก็จะเกิดอย่างเป็นระเบียนการก่อสร้างต้องเทแผ่นคอนกรีตเป็นพื้นเดียวกันตลอด เมื่อคอนกรีตแข็งตัวหลังจากเทคอนกรีต 24ชม.แล้ว จึงใช้เลื่อยชนิดตัดคอนกรีตเซาะเป็นร่องลึกประมาณ 1/8-1/4 ของความหนาของแผ่นคอนกรีต
________________________________________
ข้อที่: 9
โจทย์: การสร้างรอยต่อตามยาวของแผ่นคอนกรีตให้เป็นรูป key Joint มีวัตถุประสงค์อย่างไร
คำตอบ 1: เพื่อช่วยยึดรอยต่อมิให้แยกจากกัน
คำตอบ 2: เพื่อช่วยในการถ่ายน้ำหนักระหว่างแผ่นคอนกรีต
คำตอบ 3: เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมลงไปในพื้นทาง
คำตอบ 4: เพื่อช่วยในการแตกออกจากกันอย่างเป็นระเบียบของแผ่นคอนกรีต
แนวคิด
key Joint ทำหน้าที่เป็นตัวกระจายโมเมนต์หรือกระจายแรงของแผ่นพื้นในแต่ละแผ่นที่รับ แรงไปสู่แผ่นข้างเคียงเพื่อช่วยในการรับน้ำหนัก และเพิ่อไม่ให้ความหนาของแผ่นพื้นมีขนาดหนาเกินไปโดยใช่เหตุ และอีกส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่ในการรับแรงเฉือนที่เกิดขึ้น เพื่อพยุงให้เกิดการทรุดตัวในระดับเดียวกันจึงมีความสำคัญมากในงานถนน
________________________________________
ข้อที่: 10
โจทย์: ชั้นรองพื้นทาง (base) วัสดุประเภทหินคลุก จะต้องมีค่า CBR ไม่น้อยกว่าเท่าใด
คำตอบ 1: 20%
คำตอบ 2: 40%
คำตอบ 3: 60%
คำตอบ 4: 80%
แนวคิด
รองพื้นทางใช้บริเวณที่ ดินคันทางอ่อนมากหรือในบริเวณที่วัสดุสำหรับทำรองพื้นทางหาได้ง่าย จึงลดความหนาของชั้นพื้นทางและเพิ่มขนาดของชั้นรองพื้นทางแทน
________________________________________
ข้อที่: 11
โจทย์: ดินคันทางเป็นชั้นดินเดิมหรือดินถม เรียกว่าชั้นอะไร
คำตอบ 1: Subbase
คำตอบ 2: Base Course
คำตอบ 3: Wearing Course
คำตอบ 4: Subgrade
แนวคิด
ดินเดิมหรือดินคันทาง (Embankment) ปกติแล้วในการออกแบบถนนคอนกรีตความสามารถในการรับน้ำหนักของชั้นดินเดิมจะวัดในรูปของ Modulus of Subgrade Reaction หรือค่า kซึ่งได้จากการทดสอบ Plate Bearing Test (ASTM) แต่อาจจะเทียบค่า k กับค่า CBR ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันมากกว่าก็ได้
________________________________________
ข้อที่: 12
โจทย์: รอยต่อถนนคอนกรีตเพื่อการขยายตัวตามขวาง เรียกว่าอะไร
คำตอบ 1: Contraction Joint
คำตอบ 2: Construction Joint
คำตอบ 3: Expansion Joint
คำตอบ 4: Longitudinal Joint
แนวคิด
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ที่รอยต่อจะมีเหล็กเดือยเพื่อถ่ายแรง เหล็กเดือยต้องหล่อลื่นที่ปลายข้าง
หนึ่ง และต้องมีพื้นที่ให้เหล็กเดือยเคลื่อนที่ไปมาได้โดยการติดตั้งฝา (Cap) ไว้ที่ปลายเหล็กเดือย โดยปกติจะติดตั้ง Expansion Joint ทุก ๆ ระยะ 100 – 150 เมตร
________________________________________
ข้อที่: 13
โจทย์: โดยทั่วไป วัสดุลูกรังในชั้นรองพื้นทาง จะต้องมีค่า CBR. ไม่น้อยกว่าเท่าใด(กรณีทดลองวิธีแบบ Soak)
คำตอบ 1: 8%
คำตอบ 2: 15%
คำตอบ 3: 20%
คำตอบ 4: 25%
แนวคิด
คุณสมบัติของวัสดุชั้นรองพื้นทาง โดยทั่วไป
(1) มีค่าความสึกหรอ เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.202 "วิธีการทดลองหาความสึกหรอของ Coarse Aggregate โดยใช้เครื่อง Los Angeles Abrasion" ไม่เกินร้อยละ 60
(2) มีขนาดคละที่ดี เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.205 "วิธีการทดลองหาขนาดเม็ดของวัสดุโดยผ่านตะแกรงแบบล้าง" ตามข้อกำหนด ทล.-ม.205 "มาตรฐานรองพื้นทางวัสดุมวลรวม"
(3) มีค่า Liquid Limit เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.102 "วิธีการทดลองหาค่า Liquid Limit (LL) ของดิน" ไม่เกินร้อยละ 35
(4) มีค่า Plasticity Index เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.103 "วิธีการทดลองหาค่า Plasticity Limit (PL) และ Plasticity Index (PI)" ไม่เกินร้อยละ 11
(5) มีค่า CBR เมื่อทดลองตาม ทล.-ท.109 "วิธีการทดลองหาค่า CBR" ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 มีความแน่นแห้งของการบดอัดร้อยละ 95 ของความแน่นแห้งสูงสุดที่ได้จากการทดลองตาม ทล.-ท.108 "วิธีการทดลอง Compaction Test แบบสูงกว่ามาตรฐาน"
(6) กรณีใช้วัสดุมากกว่า 1 ชนิดผสมกัน วัสดุแต่ละชนิดจะต้องมีขนาดคละสม่ำเสมอและเมื่อผสมกันแล้วจะต้องมีลักษณะสม่ำเสมอ มีคุณภาพตามข้อกำหนด
(7) กรณีใช้วัสดุจำพวก Shale ต้องมีค่าเฉลี่ย Durability Index ของวัสดุทั้งชนิดเม็ดละเอียดและชนิดเม็ดหยาบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ทดลองตาม ทล.-ท.206 "วิธีการทดลองหาค่า Durability ของวัสดุ"
________________________________________
ข้อที่: 14
โจทย์: ความเสียหายที่แผ่นพื้นคอนกรีต (Rigid Pavement) สาเหตุการเสียหายข้อใดพบได้มากที่สุด
คำตอบ 1: การโก่งตัว
คำตอบ 2: การแอ่นตัว
คำตอบ 3: ผิวหน้าสึกกร่อน
คำตอบ 4: การบิดตัว
แนวคิด
ที่ผิวหน้าคอนกรีตสึกกร่อนนั้นเป็นเพราะผิวหน้าถนนคอนกรีตต้องแบกรับทั้งน้ำหนักของล้อรถ การตะกุยของล้อรถ แล้วการกัดเซาะจากน้ำขัง หรือ น้ำฝน ทำให้ผิวหน้าของถนนสึกกร่อนมาก
________________________________________
ข้อที่: 15
โจทย์: มาตรฐานกรมทางหลวง การก่อสร้างทางผิวจราจรคอนกรีต (Rigid Pavement) จะต้องใช้ทรายรองพื้นหนาเท่าใด
คำตอบ 1: 5 ซม.
คำตอบ 2: 10 ซม.
คำตอบ 3: 15 ซม.
คำตอบ 4: 20 ซม.
แนวคิด
ผิวทางซึ่งใช้วัตถุอันมิต้องใช้รถบด คือ ดิน ทราย ลูกรัง กับดินเผา หรือ อิฐ ความหนาแล้วแต่ปริมาณจราจร ไม่ควรต่ำกว่า 10 เซนติเมตร อย่างกลางหนา 15 เซนติเมตร และอย่างสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร “กฎการทาง พ.ศ. 2478”
________________________________________
ข้อที่: 16
โจทย์: Binder Course อยู่ในส่วนใดของโครงสร้างถนน
คำตอบ 1: ผิวทาง (Surface)
คำตอบ 2: พื้นทาง (Base Course)
คำตอบ 3: รองพื้นทาง (Subbase Course)
คำตอบ 4: ดินเดิม (Subgrade)
แนวคิด
________________________________________
ข้อที่: 17
โจทย์: ผิวทางชนิดใดใช้สำหรับถนนประเภทที่มีปริมาณการจราจรสูง
คำตอบ 1: ผิวทางเซอร์เฟซทรีทเม้นต์ (Surface Treatment)
คำตอบ 2: ผิวทางเพนนิเตรชั่นแมคคาดัม (Penetration Macadam)
คำตอบ 3: ผิวทางเคพซีล (Cape Seal)
คำตอบ 4: ผิวทางแอสฟัลท์คอนกรีต (Asphalt Concrete)
แนวคิด
แอสฟัลติกคอนกรีตประกอบด้วยส่วนผสมของหินย่อยกับยางแอสฟัลท์ ส่วนผสมดังกล่าวเหมาะที่จะใช้เป็นผิวจราจร ใช้ดาดท้องคลอง หรือสระนํ้า การผลิตคอนกรีตแอสฟัลท์ทำ ได้หลายวิธี แต่วิธีที่เหมาะสำ หรับประเทศไทยมี 2 วิธี คือ แบบผสมเสร็จจากโรงงาน (Plant mix) และแบบผสมในสนาม (Field mix) กรรมวิธีในการทำ คอนกรีตแอสฟัลท์ผสมเสร็จคือต้องมีโรงงานหรือสถานที่ผสม (Plant) โดยให้ความร้อนแก่หิน และยางจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องในอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ เมื่อผสมจนได้ที่จึงเทใส่รถบรรทุกแล้วนำ ไปยังสถานที่ก่อสร้างเทลงในเครื่องปูคอนกรีตแอสฟัลต์ (Asphalt concrete paving machine or paver) ปูตามความหนาที่ต้องการแล้วบดอัดด้วยรถบดล้อเหล็ก หรือล้อยาง ตามลำ ดับ แอสฟัลต์คอนกรีตแอสฟัลท์ที่ผสมโดยวิธีนี้ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดแต่มีราคาค่อนข้างแพง เพราะต้องใช้เครื่องจักร และเครื่องมือหลายชนิด
________________________________________
ข้อที่: 18
โจทย์: ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเสริมเหล็กในถนนคอนกรีต
คำตอบ 1: ป้องกันการแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิ
คำตอบ 2: ยึดรอยแตกร้าวไม่ให้ห่างจากกัน
คำตอบ 3: รับแรงดัดที่เกิดจากน้ำหนักล้อกระทำกับถนน
คำตอบ 4: ลดการแอ่นตัว (Deflection) ในถนน
แนวคิด
แรงดัดที่เกิดขึ้นจะถูกถ่ายลงสู่โครงสร้างทางทั้งหมด เหล็กเสริมในคอนกรีตเสริมเพื่อป้องกันการแตกร้าว ยึดรอยแตกร้าวไม่ให้ห่างจากกัน และลดการแอ่นตัวในถนน
________________________________________
ข้อที่: 19
โจทย์: การเสริมเหล็กในถนนคอนกรีตจะเสริมบริเวณใด
คำตอบ 1: ระยะต่ำจากผิวบนประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร
คำตอบ 2: ระยะสูงจากผิวล่างประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร
คำตอบ 3: ตรงกึ่งกลางระหว่างผิวบนและผิวล่าง
คำตอบ 4: เสริมเหล็กที่ตำแหน่งใดก็ได้
แนวคิด
ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับคอนกรีตที่หล่อในที่ ควรมีระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุดตามมาตรฐาน วสท.
________________________________________
ข้อที่: 20
โจทย์: รอยต่อของถนนคอนกรีตแบบใดที่ทำหน้าที่บังคับให้รอยแตกในแผ่นคอนกรีตเกิดตรงจุดที่ต้องการ
คำตอบ 1: Contraction Joint
คำตอบ 2: Construction Joint
คำตอบ 3: Expansion Joint
คำตอบ 4: Longitudinal Joint
แนวคิด
รอยต่อมีทิศทางขวาง (ตั้งฉาก) กับทิศทางการจราจรรอยต่อชนิดนี้มีไว้เพื่อควบคุมรอยแตก (Crack) ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการหดตัว (Shrinkage) ของคอนกรีต ทำได้โดยการเลื่อยผิวคอนกรีตให้เป็นร่องก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวเต็มที่ เมื่อคอนกรีตหดตัวแล้วเกิดรอยแตก รอยแตกจะถูกควบคุมให้เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อ เนื่องจากที่รอยต่อผิวคอนกรีตมีความหนาต่ำกว่าที่อื่น เมื่อรอยต่อเกิดมีรอยแตกขึ้นมาแล้ว คอนกรีตจะสูญเสียการถ่ายแรงไป ดังนั้น จึงต้องมีเหล็กเดือย(Dowel Bar) เพื่อให้เกิดการถ่ายแรงจากแผ่นคอนกรีตไปสู่แผ่นคอนกรีตอีกแผ่นหนึ่งได้ โดยปกติรอยต่อชนิดนี้จะก่อสร้างให้มีระยะห่างกันประมาณ 10-15 เมตร ในถนนคอนกรีตแบบ JRCP
________________________________________
ข้อที่: 21
โจทย์: รอยต่อในผิวทางคอนกรีตที่แสดง เป็นรอยต่อชนิดใด
รูปภาพประกอบคำถาม:
คำตอบ 1: รอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion Joint)
คำตอบ 2: รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint)
คำตอบ 3: รอยต่อเพื่อการก่อสร้าง (Construction Joint)
คำตอบ 4: รอยต่อตามยาว (Longitudinal Joint)
แนวคิด
เป็นรอยต่อสำหรับพื้นให้เป็นอิสระไม่ติดกับโครงสร้าง ไม่ว่าบริเวณส่วนที่ติดกันนั้นจะต้องยินยอมให้สามารถเคลื่อนที่ในแนวราบและแนวดิ่งได้อย่างเป็นอิสระเพื่อทำให้เกิดรอยร้าวจากการยึดรั้งให้น้อยที่สุดเมื่อเกิดการเคลื่อนตัว สังเกตจาก Expansion Cap ที่สวมเข้าไปในเหล็ก เพื่อให้เกิดช่องว่างในการหด และขยายตัวของพื้นถนนและเหล็ก
________________________________________
ข้อที่: 22
โจทย์: รอยต่อในผิวทางคอนกรีตที่แสดง เป็นรอยต่อชนิดใด
รูปภาพประกอบคำถาม:
คำตอบ 1: รอยต่อเพื่อการขยายตัว (Expansion Joint)
คำตอบ 2: รอยต่อเพื่อการหดตัว (Contraction Joint)
คำตอบ 3: รอยต่อเพื่อการก่อสร้าง (Construction Joint)
คำตอบ 4: รอยต่อตามยาว (Longitudinal Joint)
แนวคิด
เป็นรอยต่อทำไว้เพื่อบังคับให้แผ่นคอนกรีตแตกร้าวตรงแนวที่กำหนดให้ เพื่อให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ ซึ่งการทำรอยต่อประเภทนี้จะใช้ในการป้องกันการแตกร้าวที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของคอนกรีตที่เกิดขึ้น สังเกตจากรอยต่อที่ชิดติดกันป้องกันการหดของคอนกรีต
________________________________________
ข้อที่: 23
โจทย์: โครงสร้างทางชั้นใดที่อยู่ใต้ชั้นผิวทางลาดยาง
คำตอบ 1: ชั้นรองพื้นทาง
คำตอบ 2: ชั้นพื้นทาง
คำตอบ 3: ชั้นวัสดุคัดเลือก
คำตอบ 4: ชั้นดินคันทาง
แนวคิด
________________________________________
ข้อที่: 24
โจทย์: เหล็กที่ใช้กับรอยต่อในแผ่นคอนกรีต ชนิดใดที่ครึ่งหนึ่งของความยาวต้องทาผิวด้วยวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีต
คำตอบ 1: Dowel Bar
คำตอบ 2: Tie Bar
คำตอบ 3: Longitudinal Steel
คำตอบ 4: Transverse Steel
แนวคิด
สาเหตุที่ต้องทางวัสดุป้องกันกันการยึดเกาะกับคอนกรีตครึ่งหนึ่งของความยาวของเหล็กเดือยนั้นเพื่อป้องกันการแตกของถนนคอนกรีตเมื่อคอนกรีตขยาย หรือหดตัว เมื่อถนนหรือยืดหดตัวเองนั้นถ้าไม่ทาวัสดุป้องกันการยึดเกาะกับคอนกรีต อาจทำให้คอนกรีต ถนนเสียหายได้ ถ้าทางวัสดุป้องกันการยึดเกาะแล้วเหล็กก็จะยืดหดเข้าออกตามการยืดหดของถนนได้
________________________________________
ข้อที่: 25
โจทย์: การกำหนดให้ใช้น้ำหนักเพลาเดี่ยวมาตรฐาน ( Single Axle Load ) 18,000 ปอนด์ และเปลี่ยนยวดยานขนาดน้ำหนักเพลาต่างๆ ที่มาใช้ถนนให้เป็น Equivalent Axle load (EAL) นั้น เป็นการวิเคราะห์ด้านการจราจรของการออกแบบถนนลาดยางของวิธีการในข้อใด
คำตอบ 1: วิธี The Asphalt Institute (1981, 1991)
คำตอบ 2: วิธี Group Index
คำตอบ 3: วิธี Corps of Engineers
คำตอบ 4: วิธี The Asphalt Institute (1981, 1991) และ วิธี Corps of Engineers
แนวคิด
ปริมาณการจราจรที่ใช้ในการออกแบบตามวิธี Asphalt Institute ฉบับที่ 8 จะอยู่ในรูปของ Design Traffic Number (DTN) โดยค่า DTN นั้นหมายถึง จำนวนเที่ยวเฉลี่ยต่อวัน ของจำนวนรถที่มีน้ำหนักเพลามาตรฐานเท่ากับ 18,000 ปอนด์ (Equivalent Single Axle Loads, ESAL) ที่แปลงมาจากจำนวนรถที่มีชนิดและน้ำหนักเพลาต่างๆกัน ซึ่งคาดว่าจะมาใช้ในช่องจราจรที่ออกแบบตลอดช่วงระยะเวลาที่ออกแบบ การประมาณค่าของ DTN ขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายตัวด้วยกัน เช่น ระยะเวลาออกแบบ จำนวนรถบรรทุกหนัก อัตราการเพิ่มของรถบรรทุก ฯลฯ ดังนั้นเพื่อให้ทำความเข้าใจในการหาค่า DTN ง่ายยิ่งขึ้นจึงขอให้คำจำกัดความของตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นต้องทราบดังนี้ Equivalent 18,000-Pound Single-Axle Loads (ESAL) คือ จำนวนเที่ยวของน้ำหนักเพลาเดี่ยวมาตรฐาน 18,000 ปอนด์ ที่เปรียบเทียบแปลงมาจากจำนวนเที่ยวของน้ำหนักเพลาที่มีขนาดและชนิดต่างๆ กัน โดยที่น้ำหนักเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อความเสียหายของโครงสร้างชั้นทางเท่ากัน
________________________________________
ข้อที่: 26
โจทย์: Full- Depth Pavement ตามความหมายของ The Asphalt Institute หมายถึงข้อใด
คำตอบ 1: โครงสร้างถนนที่รับน้ำหนักมาก จึงออกแบบให้แข็งแรงเป็นพิเศษ
คำตอบ 2: โครงสร้างถนนที่ออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักรถได้ตลอดอายุใช้งานของทางนั้นไม่ต้องเททับเพิ่มในภายหลัง
คำตอบ 3: โครงสร้างถนนที่มีเฉพาะชั้นผสมวัสดุแอสฟัลท์เท่านั้นวางบนชั้น Subgrade
คำตอบ 4: โครงสร้างถนนที่ประกอบด้วยผิวทาง พื้นทาง รองพื้นทาง และวัสดุคัดเลือกเต็มรูปแบบ
แนวคิด
เป็นวิธีเชิงประสบการณ์ ซึ่งนำเอาข้อมูลจากผลการทดลองในถนนทดสอบ AASHTO Road Test, WASHO Road Test, British Road Test, และประสบการณ์จากงานจริง มาสร้างเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับ ความหนาของชั้นพื้นทางที่ต้องการ โดยวัสดุในชั้นพื้นทางที่ได้ตามความสัมพันธ์นี้จะเป็น Asphalt ทั้งหมด หรือที่เรียกว่า Full-Depth Asphalt
________________________________________
ข้อที่: 27
โจทย์: คำว่า Pumping Action ในงานถนนคอนกรีต หมายถึงข้อใด
คำตอบ 1: การที่น้ำและดินได้แผ่นพื้นคอนกรีตพุ่งขึ้นมาผ่านทางรอยต่อ รอยแตกหรือที่ขอบของ แผ่นพื้นเมื่อมีน้ำหนักกดให้แผ่นพื้นแอ่นลงหลังจากมีน้ำขังสะสมอยู่ใต้แผ่นพื้นนั้น
คำตอบ 2: เทคนิคพิเศษในการเทคอนกรีตงานถนนที่ต้องเทด้วยอัตราส่วนซีเมนต์ต่อน้ำต่ำกว่าคอนกรีตทั่วไป
คำตอบ 3: การเทคอนกรีตเพื่อไปอุดโพรงใต้ถนนคอนกรีต เป็นการป้องกันไม่ให้ถนนคอนกรีตเสียหาย
คำตอบ 4: การระบายน้ำใต้ถนนคอนกรีตออก เพื่อให้ทางไม่เสียหาย
แนวคิด
การที่น้ำและดินได้แผ่นพื้นคอนกรีตพุ่งขึ้นมาผ่านทางรอยต่อ รอยแตกหรือที่ขอบของ แผ่นพื้นเมื่อมีน้ำหนักกดให้แผ่นพื้นแอ่นลงหลังจากมีน้ำขังสะสมอยู่ใต้แผ่นพื้นนั้น เมื่อแผ่นพื้นมีน้ำหนักกดทับมากๆ ทำให้แผ่นคอนกรีตแตกได้
________________________________________
ข้อที่: 28
โจทย์: เมื่อแผ่นพื้นคอนกรีตถูกกระทำด้วยน้ำหนักล้อที่ขอบของแผ่นพื้น (Edge loading). Tensile stress สูงสุดในแผ่นพื้นคอนกรีตเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งใด
คำตอบ 1: ใต้น้ำหนักบรรทุก ที่ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีต มีขนาดเท่ากันทุกทิศทาง
คำตอบ 2: ใต้น้ำหนักบรรทุก ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ
คำตอบ 3: ด้านบนของแผ่นพื้นคอนกรีต ในแนวเส้นแบ่งครึ่งมุมของแผ่นพื้นคอนกรีต
คำตอบ 4: ณ จุดที่น้ำหนักบรรทุก ผิวบนของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ
แนวคิด
เป็นความเค้นซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีแรงมากระทำตามความยาวในลักษณะดึงให้ยืดออก โดยมีทิศตั้งฉากกับพื้นที่ภาคตัดขวาง มีลักษณะ คล้ายคานSimple Beam เมื่อมีน้ำหนักมากระทำที่กลางคานจะเกิดการหดตัวที่ด้านบนของคาน และมีการยืดออกที่ผิวด้านล่างของคาน
________________________________________
ข้อที่: 29
โจทย์: เมื่อแผ่นพื้นคอนกรีตถูกกระทำด้วยน้ำหนักล้อที่มุมของแผ่นพื้น (Corner loading) Tensile stress สูงสุดเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งใด
คำตอบ 1: ใต้น้ำหนักบรรทุก ที่ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีต มีขนาดเท่ากันทุกทิศทาง
คำตอบ 2: ใต้น้ำหนักบรรทุก ผิวล่างของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ
คำตอบ 3: ด้านบนของแผ่นพื้นคอนกรีต ในแนวเส้นแบ่งครึ่งมุมของแผ่นพื้นคอนกรีต
คำตอบ 4: ณ จุดที่น้ำหนักบรรทุก ผิวบนของแผ่นพื้นคอนกรีตมีทิศทางขนานกับขอบ
แนวคิด
เป็นความเค้นซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีแรงมากระทำตามความยาวในลักษณะดึงให้ยืดออก โดยมีทิศตั้งฉากกับพื้นที่ภาคตัดขวาง มีลักษณะ คล้ายคานปลายยื่น เมื่อมีน้ำหนักมากระทำที่ปลายคานจะเกิดการหดตัวที่ด้านผิวด้านล่างของคาน และมีการยืดออกที่ผิวด้านบนของคาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น